 |
 |
 |
|
|
|
บรรยายโดย คุณพ่อประยูร พงศ์พิษณุ์ |
บทนำ |
บ้านมีเสาคนเรามีหลัก ศาสนสัมพันธ์ก็มีหลักการ ในการเตรียมตัวเป็นนักเสวนาศาสนสัมพันธ์ (Man of Dialogue) พึ่งทำความเข้าใจในหลักการบางประการ ซึ่งขอนำมาแบ่งปัน ดังต่อไปนี้ |
หลักที่ 1 |
เรียนรู้ให้เข้าใจความสำคัญและความหมายของการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างการประกาศพระวรสาร/แพร่ธรรม (Evangelization/Ad Gentes) คริสตสัมพันธ์ (Ecumenical/สัมพันธภาพสากล-1910) เสวนากับพี่น้องต่างศาสนา/ศาสนสัมพันธ์
(Inter-religious Dialogue-รับรองที่เยรูซาเล็ม 1928) การปรับ (พระวรสาร) เข้าสู่วัฒนธรรม (Inculturation)
|
1.1 ความสำคัญของงานศาสนสัมพันธ์ |
ปัจจุบันคริสตชนไทยมีการเสวนากับพี่น้องศาสนาอื่นๆ (Dialogue of Life) ในชีวิตประจำวัน จึงขอนำประเด็นสำคัญมาพิจารณา ให้คำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ |
- ศักดิ์ศรีของคน ไม่ว่านับถือศาสนาใดหรือไม่ก็ตาม (ธรรมนูญ GS. ข้อ 78)
- สถานการณ์โลกยุคโลกาภิวัตน์ : ให้ข้อมูลเพื่อการเสวนาเสมอไป ; การยอมรับความแตกต่างอย่างเข้าใจ และสัมพันธ์กันดีได้
อาศัยการเสวนาที่จริงจัง (GS. ข้อ 43)
- หน้าที่ และจิตตารมณ์คริสตชน เรียกร้องให้ปฏิบัติความรักต่อเพื่อนมนุษย์แบบตรงกับความต้องการของยุคสมัย (เข้าหา เสวนา แบ่งปัน แลกเปลี่ยน) (ข้อกำหนดว่าด้วยงานแพร่ธรรมของฆราวาส ข้อ 7)
- หน้าที่ของพระศาสนจักรโดยรวม ส่งเสริมงานเสวนาเพื่อภราดรภาพของมนุษยชาติ (ทุกชาติ – เผ่าพันธุ์ – วัฒนธรรม) (GS. ข้อ 92) ด้วยความสมัครใจ และเต็มใจ
- ลักษณะการเสวนาที่ดี และมีผล
- เปิดใจ และจริงใจ
- พยายามเข้าใจ และใจดี ยอมรับและยกย่อง (ES. ข้อ 79)
- มีความเสมอภาคบนพื้นฐานศักดิ์ศรีของความเป็นคน
|
1.2 ศาสนสัมพันธ์กับงานแพร่ธรรม / ประกาศพระวรสาร |
1.2.1
หลักการ และวิธีการที่เป็นแนวเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (Related Theme)
- การแพร่ธรรม / ประกาศพระวรสาร (Evangelization) และแพร่ธรรมไป “สู่นานาชาติ” (Ad Gentes) มุ่งที่การกลับใจ
- คริสตสัมพันธ์ (Ecumenism) ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องต่างนิกาย
- ศาสนสัมพันธ์ (Inter-religious Dialogue) มุ่งที่ความเข้าใจ และการทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ระหว่างพี่น้องต่างศาสนากัน
- วัฒนธรรมสัมพันธ์ (Inculturation) เน้นการปรับ/ประยุกต์พระวรสารเข้าสู่วิถีชีวิตท้องถิ่น และชุมชน (Local, Community)
|
1.2.2 พระศาสนจักร และสมาชิก
-“Extra Ecclesiam nulla salus.” = นอกพระศาสนจักรแล้วไม่มีความรอด (นบ.ซีเปรียน)
เบี่ยงเบนไปในเรื่องการแสวงหาปริมาณ/จำนวนมากกว่าแสวงหาคุณภาพ ก่อให้เกิดอคติและปฏิกิริยา
-“ผู้เป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกในพระศาสนจักร จะไม่ได้เข้าในพระอาณาจักรสวรรค์ (นบ.อิกญาซีโอ แห่งอันติโอก) |
1.2.3 ทัศนะด้านลบ และวิธีการด้านลบ
- วิธีป้องกัน ตอบโต้/แข่งขัน ยกตนข่มท่าน (Apologetic)
- วิธีการผสมความเชื่อ/สูญเสียเอกลักษณ์ (Syncretism)
- วิธีการแอบแฝง (Proselylizing) ไม่หวังผลตอบแทน และไม่แฝงด้วยการดึงประชาชน (Manipulation)
|
1.2.4 เน้นการดำเนินชีวิต และการดำเนินพระศาสนจักรที่มีชีวิตชีวา (Life and Living / Living Church) |
1.2.5เน้นชีวิตชุมชน และการแบ่งปันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิต-จิตใจ
1.2.6เป็นมิตรและเป็นตัวอย่างที่ดีตามแบบฉบับพระเยซูเจ้า (สุภาพ และอ่อนหวาน) “มิตรภาพนำการแพร่ธรรม”
1.2.7การเสวนาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เช่น เรื่องภาษา (คริสตัง ขนมปัง กะละมัง…) / ศัพท์เฉพาะ (สังฆราช พระสงฆ์ สามเณร สังฆมณฑล…) แก้ข่าวเท็จ-ข่าวลือ อคติ และความเข้าใจผิดต่างๆ นานา
1.2.8การเสวนามุ่งความรู้ ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ฉันมิตรไมตรี - ฉันพี่น้อง การร่วมกันสร้างสรรค์จรรโลงสังคมให้เกิดสันติสุขด้วยสามัคคีธรรม |
1.3 การเสวนา 3 ระดับ ตาม ES. ของ พระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6
|
1.3.1ในวงกว้าง ระดับโลก / มนุษยชาติทั้งมวล : ผู้นับถือศาสนา กับผู้ไม่นับถือศาสนาใดเลย
1.3.2ในวงกลาง ระดับมนุษย์ศาสนา : คริสตชน กับชนต่างศาสนา
1.3.3ในวงแคบ ระดับคริสตศาสนา : คาทอลิกกับคริสตชนต่างนิกาย (โปรแตสแตนท์ ออร์โธ- ด๊อกซ์) |
1.4 การเสวนา 3 ประเภท / ด้าน |
1.4.1เสวนาด้านเนื้อหาวิชาการ(Dialogue of Studies : Bible, Theology…)
1.4.2 เสวนาด้านประสบการณ์ชีวิตจิต (Dialogue of Spirituality : Virtues, Prayer, Meditation, Contemplation)
1.4.3 เสวนาด้านชีวิตสังคม (Dialogue of Social life)
|
หลักที่ 2 |
เรียนรู้ให้เข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาของงานศาสนสัมพันธ์ในพระศาสนจักรสากลและพระศาสนจักรท้องถิ่นในบริบทไทย เพื่อเป็นบทเรียน บทสอน และบทเตือนไม่ให้ซ้ำประสบการณ์ที่เลวร้าย (Bad history never repeats) และขณะเดียวกันก็สร้างประวัติศาสตร์ที่ดีงามใหม่ในยุคสมัยของเราต่อไป (History of our age moves on.) |
2.1 ความหมายคำว่า “ศาสนา” |
- คำว่าศาสนา หากแปลว่าคำสั่งสอน (C/O ปรัชญา = Philo-Sophia) ก็ยังใช้ร่วมกันได้
- หากแปลว่า ความเกี่ยวข้อง ผูกพัน (Religion) :
- ระหว่างคน กับ สัจธรรม = ศรัทธาธรรม/ปริยัติ ศีล/จริยธรรม ปฏิบัติธรรม = ปฏิเวธ (จนบรรลุผล) พิธีกรรม-บูชา = บูชาธรรม
- โดยรวมคือ ระบบศรัทธา
N.B.
สาสนํ (บ), ศาสนํ (ส)
Relio (Lt.) : - Religare (ผูกพัน), Relegere (ปฏิบัติต่อ, เกี่ยวข้องกัน) |
2.2 ศาสนสัมพันธ์ในบริบทสังคมไทย |
2.2.1ศาสนา
* ศาสนา : ความเข้าใจในแง่ของคำ และความหมาย
* ศาสนาในเชิงปรัชญา และประวัติศาสตร
์* ศาสนาในเชิงมนุษย์วิทยา และสังคมศาสตร์ |
2.2.2 สัมพันธภาพ
*
สัมพันธภาพเป็นหลักสากลตามธรรมชาติ (ความมี/เป็นส่วน และการทำส่วนของตัวเอง)
* สัมพันธภาพที่เกิดจากการเสวนา (ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ และความร่วมมือ)
* สัมพันธภาพในความหลากหลายความแตกต่าง และเสมอภาค |
อธิบายความหลากหลาย ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ |
* เรามีความศาสนาหลากหลาย ภายในสังคม และในวัฒนธรรมหลากหลาย (พิจารณาบริบทไทย-เอเชีย)
* เราจึงพึงส่งเสริมความปรองดอง ระหว่างพี่น้องศาสนิกโดยอาศัย
* ศาสนิกสัมพันธ์ ตามสภาพจิตใจ
* ศาสนธรรม ตามเนื้อหาสาระที่เป็นจริง
* เพื่อร่วมมือกันสร้างสรรค์ให้เกิดสันติร่วมกันของทุกคน และสันติภาพของโลก |
2.2.3 การเสวนา
*สร้างทัศนคติที่ดี และเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับยุคโลกาภิวัตน์ (ทันกัน เท่ากัน, เหมือนกัน ต่างกัน ร่วมกัน /อิทธิพลของสื่อ-ภาษา
เทคโนโลยี สื่อสารมวลชน)
*การเสวนาในมิติลึก และกว้าง ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ และมนุษย์ด้วยกัน (เส้นรุ้ง-เส้นแวง / ในตัวเรา-นอกตัวเรา)
*จุดประสงค์ของการเสวนา (ความรู้ ความเข้าใจ และความสัมพันธ์/กลับกันได้) |
2.2.4 บริบทไทย
*สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 5 ศาสนาทางการและอื่นๆในประเทศไทย
(สังคมวัฒนธรรม-Sociocultural/ประเภทศาสนา และวัฒนธรรมยิ่งใหญ่ทางตะวันออก)
*ความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องระหว่างศาสนาของกันและกัน
*ปริมาณ และคุณภาพของศาสนิกในสังคมไทย
*ความร่วมมือกัน ระหว่างศาสนิกเพื่อสังคมไทย (การสร้างสรรค์พัฒนา และการแก้ไขปรับปรุง) |
หลักที่ 3 |
สร้างทัศนคติที่ถูกต้องเพื่อให้งานศาสนสัมพันธ์สัมฤทธิ์ผล โดยพิจารณาตน (จนถึงระดับมโนธรรมก็ว่าได้) ทั้งก่อนและหลังการทำงานศาสนสัมพันธ์ |
3.1 ทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อศาสนาอื่น |
3.3.1เห็นคุณค่าในเนื้อหาสาระ / ศาสนธรรม หลักการ วิธีการของศาสนาอื่นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามน่าสนใจ และมีความลุ่มลึก ลึกซึ้ง เพราะได้สะสมคุณค่ามาเป็นเวลายาวนาน
3.3.2เห็นคุณค่าด้านประสบการณ์ชีวิตที่ให้ผลดีจากการปฏิบัติศาสนธรรมของศาสนิกในศาสนานั้นๆ
3.3.3เห็นคุณค่าของความจริง ความดีงาม ความศักดิ์สิทธิ์ศรัทธาของศาสนาอื่นๆ (พระศาสน-จักรให้เรารู้จักยอมรับ / ไม่ปฏิเสธ)
*ทุกคนมีดี อาจมีดีเหมือนกัน หรือต่างกัน ฉะนั้นพยายามเรียนรู้ และเรียนแบบความดีของกันและกัน (แต่ยังรักษาเอกลักษณ์ของตนไว้)
*ทุกศาสนาปรารถนาความรัก ฉะนั้นให้เรารักกันฉันท์พี่น้อง
*ทำเป็นประสบการณ์ชีวิตเพื่อการเสวนาด้วยชีวิต (ชีวิตศาสนาทั่วไปและชีวิตจิตภายใน) |
หลักที่ 4 |
ทำงานด้านศาสนสัมพันธ์แบบบูรณาการและเชื่อมโยงผสมผสานกับศาสตร์ และวิธีการแขนงอื่นๆ ให้พิจารณาตามตารางข้างล่างนี้ |
4.1 ศาสน-สัมพันธ์ (Integral Inter-religious Dialogue / บูรณาการ, ผสมผสาน) (ศาสดา-สาวก / ศาสนิก / ศาสนธรรม / ศาสนาสถาบัน / ศาสนพิธี-กรรม / ศาสนประเพณี / ศาสนศิลปะ-วัตถุ-สถาน…) |
ในประวัติศาสตร์ |
ศาสนศาสตร์/เทวฯ |
ชีวิตจิต |
วัฒนธรรม |
สาขาวิชา/สัมมนา |
* สากล |
* หลักความเชื่อ |
* ชีวิตภาวนา |
* ธรรมประเพณี |
* จิตวิทยา |
* ท้องถิ่น |
* ข้อคำสอน |
* สวดภาวนา |
* ธรรมเนียม... |
* มนุษย์วิทยา |
* ทวีป
* ประเทศ
* ภาค
* ชุมชน |
* ศีลธรรม/จริยธรรม |
* จิตภาวนา
* ชีวิตพระหรรษทาน
* ศีลศักดิ์สิทธิ์
* ชีวิตสนิทสัมพันธ์กับพระในชีวิตประจำวัน |
* (เนติสหวัตถุคติธรรม) |
* สังคมวิทยา
* ฯลฯ
* สัมมนา,สะท้อน,สังเกต
,สร้างสมประสบการณ์ |
|
|
* ชีวิตฤทธิ์กุศล |
|
|
|
หมายเหตุ Integrate 5S’s : Studies+Skills+Structure+Spirit+Stability/Solidarity (Society). |
Dialogue(Monologue) : Human understanding and human relationship :- |
*ฟัง – พูด : “อันมนุษย์สุดดีอยู่ที่ปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา” |
*ปาก – ใจ ; ใจ – มือ (พูดจริง ทำจริง จริงใจ จริงจัง) |
4.2 อธิบายขอบข่ายเนื้อหา |
*ศาสนสัมพันธ์มีขอบข่ายเนื้อหาสัมพันธ์กับ
*ประวัติศาสตร์ (สากล ทวีป ประเทศ…)
*เทวศาสตร์ / ศาสนศาสตร์ (คัมภีร์ คำสอน พิธีกรรม…)
*มนุษย์ศาสตร์ / สังคมศาสตร์ (ในบริบทของเรา คือชีวิต / วัฒนธรรมด้านศาสนาในสังคมไทย)
*ปรัชญาศาสนา จิตวิทยาศาสนา…
*เริ่มต้นด้วยเรื่อง…สัจธรรม
*แสวงหาธรรมะ (พิจารณาใคร่ครวญกับตนเอง ประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝนตนเอง)
*แสดงธรรม (เทศน์สอน)
*เสวนาธรรม / สนทนาธรรม (นำสาระธรรม หรือประสบการณ์มาแบ่งปันสู่กันฟัง-“ฟังดีย่อมเกิดปัญญา”)
N.B.- ภาษาธรรม ภาษาคน |
หลักที่ 5 |
ทำความเข้าใจและพัฒนาเนื้อหาและวิธีการด้านศาสนสัมพันธ์ตลอดเวลา |
5.1 เสวนาทางศาสนาเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน |
5.1.1ปรากฏการณ์ในประเทศไทย |
*เทียบกับรายการวาไรตี้ทอล์ค ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การพัฒนา…ศาสนา?
*รายการ ”ตามหาแก่นธรรม” รายการ “แสงธรรม” และรายการศาสนาทางวิทยุ ฯลฯ
*รายการเพลงศาสนา?
*การนิ่งเฉย / เพิกเฉย / เลินเล่อ…การทะลึ่ง การทะเลาะเปาะแว้ง…นับเป็นการ (สิ่ง / บาป) สะดุดอย่างยิ่ง |
5.1.2ทำไมต้องเสวนา |
*เพื่อสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดี จนกระทั่งสามารถเป็นมิตรไมตรี
*ในมุมกลับกันหาก “ไม่เสวนา” จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง…สารพัด…และหากมีอันตรายเกิดขึ้น จะเป็นอย่างไร |
5.1.3ทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการเสวนาที่ดี |
1.สนใจกัน
2.
ศึกษา เรียนรู้จากตำรา เรียนรู้ด้วยตัวเอง ของกันและกัน และจากกันและกัน
3.เสวนากัน (เสมอภาค และสบายใจกันทั้งสองฝ่าย)
4.ร่วมกันสร้างสรรค์ จะได้มีประสบการณ์ร่วมกัน เกิดความประทับใจ และสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวอย่างเหนียวแน่นกันยิ่งๆ ขึ้น |
ตัวอย่าง |
*ประสบการณ์ของพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เหงียน วัน ตวน ผู้เทศน์รับเชิญจากทางพระ สันตะสำนัก โอกาสเทศกาลมหาพรต ด้วย 22 บทเทศน์ที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้งและทราบซึ้งถึงก้นบึ่ง หัวใจ : วัตถุดิบที่เป็นอาหารเหมือนเดิมแต่วิธีปรุงต่างกัน (way, means, methology) |
5.2 วัฒนธรรม |
(องค์-ประกอบ-ด้วย) ; ประเภท ; ประยุกต์ ; ประโยชน์โดยประสมประสาน |
5.2.1วัฒนธรรมเป็นพื้นฐานรองรับการแพร่ธรรม และการทำศาสนสัมพันธ์
5.2.2ตัวอย่างของพระเยซูเจ้าในการปรับพระองค์ให้สอดรับ / เข้าสู่วัฒนธรรมยิว
5.2.3ประวัติศาสตร์พระศาสนจักร :
*วัฒนธรรมยิว
*วัฒนธรรมกรีก-เอเชียไมเนอร์
*วัฒนธรรมโรม-ยุโรป
*วัฒนธรรมเอเชีย-ไทย
5.2.4ถูกกล่าวหาว่าเป็นศาสนาฝรั่ง (ศาสนาโรมันคาทอลิก)
5.2.5พิธีกรรมจารีตโรมัน / ละติน ภาษาศาสนา (เทียบพระภิกษุที่ใช้ต้นฉบับบาลีนำบทเทศน์ ชาวยิวสอนคัมภีร์ต้นฉบับแก่ลูกหลาน) เทวศาสตร์ตะวันตก
5.2.6การแพร่ธรรมโดยปรับศาสนาเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่น (ยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่น)
5.2.7ศาสนสัมพันธ์กับวัฒนธรรมสัมพันธ์ต้องควบคู่ขนาน / ประสานกันไปจะเป็นประโยชน์ต่องานแพร่ธรรม |
หลักที่ 6 |
มีจิตตารมณ์แห่งการเสวนาและพร้อมที่จะสร้างเครือข่ายขยายงานออกไปเสมอในทุกระดับ (Dialogue-Spirit in Movement) |
6.1 ชีวิตจิตคริสตชน |
6.1.1เรื่องชีวิตพระตรีเอกภาพเป็นท่อธาร รูปแบบ และแบบฉบับ : ชีวิตของพระบิดา พระบุตร และพระจิต
6.1.2เรื่องจิตตารมณ์แห่งความรัก และพระวาจาทรงชีวิต (เผยความจริงและความดีงามทั้งหลาย) ชีวิต พิธีกรรม/มิสซา ชีวิตภาวนาและชีวิตฤทธิกุศล/คุณธรรม
6.1.3เรื่องติดตามและทำตาม แบบฉบับชีวิตพระเยซูเจ้าในฐานะพระเจ้าแท้ และมนุษย์แท้ : การเสด็จมาบังเกิด การไถ่บาป และการกลับเป็นขึ้นมา
6.1.4เรื่องร่วมงานกับพระองค์ พร้อมกับพระศาสนจักรตามแผนการแห่งความรอด / กอบกู้ ของพระองค์ |
6.2 ประยุกต์เรื่องจิตตารมณ์ |
6.2.1เรื่องจิตใจนั้นยิ่งใหญ่ |
* ธรรมทั้งหลาย |
-มีใจเป็นประธาน
-ประเสริฐสุดที่ใจ
-และทุกอย่างสำเร็จลงได้ด้วยใจ |
* ฝึกจิตใจด้วยวิธีการภาวนา และพิจารณา |
-ภาวนา : สร้างจิตใจให้มีพลังเข้มแข็ง (เจริญภาวนา)
-พิจารณา ทำจิตใจให้ฉลาด รู้สภาพความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย (ทั้งสองประการนี้ส่งเสริมการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เพื่อบรรลุถึงนิพพาน) |
N.B. |
-ฝึกภาวนาใช้กำลังฌาณ คือกำลังสมาธิเป็นสมถกรรฐาน ควบคุมจิตใจไม่ให้วอกแวก
-ฝึกพิจารณาใช้ความคิด พิจารณาเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องกิเลส 3 ธาตุ 4 ขันธ์ 5 – บาปบุญคุณโทษ… |
6.2.2 ดอกบัวกับหัวใจคน |
*ดอกบัวเปรียบได้กับหัวใจคน พระพุทธเจ้าทรงเปรียบดอกบัว 4 เหล่า/กอ
1.จิต-ใจ : ในตม (มืดบอด)
2.จิต-ใจ : ในน้ำ (มัวเมา หลงระเริง)
2.3จิต-ใจ : ปริ่มน้ำ (พยายามชนะกิเลส และแสวงหาปัญญา)
2.4จิต-ใจ : เหนือน้ำ (พ้นจากกิเลส เข้าถึงปัญญา) |
*พระเยซูเจ้าตรัสถึงคน 4 จำพวกของผู้รับและปฏิบัติตามพระวาจาที่ผู้หว่าน (คนเดียวกัน) ได้หว่านไว้ในใจ แต่ให้ผลต่างกัน (มัทธิว 13:18-23)
1.จิต-ใจ : ริมทาง
2. จิต-ใจ : บนหิน
3. จิต-ใจ : ในกอหนาม
4. จิต-ใจ : บนเนื้อดินดี |
ฉะนั้นเราจงทำหน้าที่พัฒนาจิตใจให้เต็มที่อย่างดีที่สุด ก็น่าจะพึงพอใจ การจะให้ได้ผลเท่าไรขึ้นอยู่กับความพยายามและการร่วมมือกับพระหรรษทานของพระ หากหวังผลสูงมากเพียงใด ก็ต้องลงมือปฏิบัติให้เต็มที่ด้วยชีวิตจิตใจอย่างลึกซึ้งมากเพียงนั้น จึงจะเข้าหลักสมการที่ว่า : “ความสมดุลนำไปสู่ความสมบูรณ์” |
|
นำเสนอ :CIDCU |